เทคโนโลยีสมัยใหม่กับการศึกษายุคปัจจุบัน
เทคโนโลยีสมัยใหม่มีบทบาทสำคัญในการช่วยการจัดการศึกษาให้บรรลุอุดมการณ์ ทางการศึกษา ตาม นโยบายการจัดการศึกษาของรัฐ ซึ่งจะต้องจัดการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับทุกคน หรือที่เรียกว่า การศึกษาเพื่อปวงชนทุกคน อันเป็นการลดความเหลื่อมล้ำโอกาสทางการศึกษาสร้างความเท่าเทียมทางด้าน การศึกษาเทคโนโลยีที่ใช้ในปัจจุบันไม่ว่าเป็น เทคโนโลยีทางด้านสารสนเทศ เทคโนโลยีทางด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีทางด้านโทรคมนาคม ซึ่งเป็นประโยชน์ในด้านการจัดการศึกษาทั้งสิ้น เช่นการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม นักเรียนชนบท ทุรกันดารสามารถเรียนรู้ได้เท่าเทียมกับนักเรียนที่อยู่ในเมือง ระบบอินเตอร์นักเรียนก็สามารถเรียนรู้ได้ทั่วโลก หรืออาจเรียกได้ว่ามีห้องสมุดโลกอยู่ที่โรงเรียน หรืออยู่ที่บ้าน โดยที่ไม่ต้องเสียเวลา เสียงบประมาณในการที่จัดซื้อหาหนังสือให้มากมาย เหมือนสมัยก่อน นอกจากนั้นแล้วผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้อย่างอิสระ นอกจากนั้นยังมีสื่อที่เป็นวิทยุ โทรทัศน์ ซีดีรอม สื่ออิเลคทรอนิกส์ ที่ทำให้ประชาชนทุกคนได้เรียนรู้ได้ตลอดชีวิต
แต่แนวโน้มในการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่หรือคอมพิวเตอร์มาใช้ในการศึกษาใน ปัจจุบันและอนาคตจะเป็นรูปแบบของการเรียนการสอน โดยนำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ มาผสมผสานกับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เนื่องจากเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมีลักษณะเฉพาะ คือ มีความสามารถในการนำเสนอข้อมูลผ่านระบบ World Wide Web ในการใช้เพื่อการจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction : WBI) หรือ E-learning ซึ่งวงการศึกษาคงจะหลีกเลี่ยงได้ยากยิ่ง แต่กระผมรู้สึกในส่วนตัวว่าอนาคตการศึกษาไทยที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์จะ ไม่มีคุณภาพโดยเฉพาะการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย เหมือนกับที่อ่านในตำรา เนื่องด้วยปัจจุบันนักศึกษาสามารถสืบหาข้อมูลโดยไม่ต้องเปิดตำรา แค่เพียงไปค้นหาในอินเตอร์เน็ตก็เจอ ทำให้นักศึกษาบางคนอาจจะไม่ได้อ่านเนื้อหาเหล่านั้นให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ เป็นเพียงแค่สืบค้นแล้วนำมาตัดแปะปรับแต่ง
เทคโนโลยี Tablet กับการศึกษา
แต่ประโยชน์สุดๆ ของเจ้า Tablet PC นี้คือการใช้อ่านหนังสืออิเลคทรอนิคส์ หรือ E-Book สำหรับท่านที่ยังไม่คุ้นเคยกับคำว่า E-Book ผมขอเล่าคร่าวๆ ให้ฟังสักนิดนะครับ เจ้า E-Book นี่ก็หน้าตาเหมือนกันกับหนังสือที่พิมพ์เป็นเล่มๆ บนกระดาษนี่ล่ะครับ แต่จะต้องอ่านผ่านหน้าหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือหน้าจอของ Tablet PC ซึ่งมีขนาดหน้าจอใหญ่พอๆ กับหนังสือจริงๆ เลยทีเดียว อีกทั้งยังสามารถอ่านได้ในที่มืดได้อีกด้วยโดยใช้แสงสว่างจากจอเข้ามาเป็น ตัวช่วย
ปัจจุบันนี้เริ่ม มีการใช้ Tablet PC ในแวดวงการศึกษากันอย่างคึกคักเลยทีเดียว ตัวอย่างเช่นในรัฐจอร์เจีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ถึงขั้นลงทุนซื้อ Table PC แจกให้กับนักเรียนเพื่อใช้แทนหนังสือในรูปแบบเดิมๆ ทั้งนี้เพราะTablet PC จะช่วยประหยัดงบประมาณในการจัดพิมพ์หนังสือและตำราเรียนได้อย่างมากมาย อีกทั้งยังทำให้การปรับปรุงเนื้อหาตำราเรียนสามารถทำได้อย่างทันท่วงที โดยไม่ต้องรอหนังสือเป็นเล่มๆ หมดแล้วค่อยพิมพ์ใหม่แบบเดิมๆ อีกต่อไป เพราะหนังสือต่างๆ ที่อยู่บน Tablet PC นั้นล้วนแล้วแต่เป็นหนังสืออิเลคทรอนิคส์ที่ถูกเก็บไว้ในรูปดิจิตอล จึงสามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้ตลอดเวลา
Tablet PC หนึ่งเครื่องนั้นสามารถบรรจุหนังสือได้เป็นพันๆ เล่ม โดยผู้อ่านสามารถเลือกเล่มไหนขึ้นมาอ่านก่อนก็ได้ ความสามารถพิเศษอีกอย่างหนึ่งของTablet PC คือการเชื่อมโยงครูอาจารย์ และนักเรียนนักศึกษา เข้าด้วยกันผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ต ทำให้ข้อจำกัดเรื่องสถานที่ในการเรียนการสอนหมดไป ครูอาจารย์ และนักเรียนนักศึกษา สามารถอยู่กันคนละที่แต่เข้ามาเรียนพร้อมกันแบบเห็นหน้าเห็นตาผ่านทางกล้อง ที่ถูกติดตั้งมาบนTablet PC ได้ จึงทำให้การเรียนการสอนทางไกลเกิดขึ้นได้อย่างง่ายดาย และเข้าไปถึงกลุ่มคนทุกชั้นไม่ว่าจะอยู่ในชนบทห่างไกลแค่ไหนก็ตาม
สำหรับในประเทศไทย สถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยบางแห่งเริ่มมีการแจก Tablet PC ให้กับนักศึกษาใหม่แล้ว รวมทั้งในปี พ.ศ.2555 นี้ก็ได้มีการแจก Tablet ให้กับเด็กป. 1 แล้วด้วย แต่การนำไปประยุกต์ใช้ยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจนแน่นอนเพราะยังต้องอาศัยการ พัฒนาโปรแกรมมารองรับรวมทั้งเนื้อหาตำราในรูปแบบ E-Book ที่จะต้องมีจำนวนมากกว่านี้ ในขั้นนี้ Tablet PC ในไทยจึงอาจเป็นได้แค่เครื่องมือที่ไว้จูงใจนักศึกษาหรือสร้างภาพลักษณ์ทัน สมัยให้กับมหาวิทยาลัยก่อน แต่ในอนาคต เมื่อราคาจำหน่ายของ Tablet PC ถูกลงกว่านี้จะมีจำนวนของหนังสือตำราเรียนต่างๆ ทยอยเข้าสู่E-Book มากขึ้น รวมทั้งจะมีการพัฒนาโปรแกรมเพื่อรองรับการอ่าน E-Book แบบไทย ๆ มากขึ้น เมื่อถึงเวลานั้นTablet PC จะกลายเป็นช่องทางใหม่ ที่เปลี่ยนรูปโฉมการเรียนการสอนและการกระจายความรู้ให้เข้าถึงคนไทยได้อย่าง มากมายมหาศาลเลยทีเดียวครับ
ที่มา http://portal.in.th และ http://www.it24hrs.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น