วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เทคโนโลยีสมัยใหม่กับการศึกษายุคปัจจุบัน

เทคโนโลยีสมัยใหม่กับการศึกษายุคปัจจุบัน

                 เทคโนโลยีสมัยใหม่มีบทบาทสำคัญในการช่วยการจัดการศึกษาให้บรรลุอุดมการณ์ ทางการศึกษา ตาม นโยบายการจัดการศึกษาของรัฐ ซึ่งจะต้องจัดการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับทุกคน หรือที่เรียกว่า การศึกษาเพื่อปวงชนทุกคน อันเป็นการลดความเหลื่อมล้ำโอกาสทางการศึกษาสร้างความเท่าเทียมทางด้าน การศึกษาเทคโนโลยีที่ใช้ในปัจจุบันไม่ว่าเป็น  เทคโนโลยีทางด้านสารสนเทศ  เทคโนโลยีทางด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีทางด้านโทรคมนาคม ซึ่งเป็นประโยชน์ในด้านการจัดการศึกษาทั้งสิ้น เช่นการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม  นักเรียนชนบท   ทุรกันดารสามารถเรียนรู้ได้เท่าเทียมกับนักเรียนที่อยู่ในเมือง  ระบบอินเตอร์นักเรียนก็สามารถเรียนรู้ได้ทั่วโลก   หรืออาจเรียกได้ว่ามีห้องสมุดโลกอยู่ที่โรงเรียน หรืออยู่ที่บ้าน  โดยที่ไม่ต้องเสียเวลา  เสียงบประมาณในการที่จัดซื้อหาหนังสือให้มากมาย เหมือนสมัยก่อน นอกจากนั้นแล้วผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้อย่างอิสระ นอกจากนั้นยังมีสื่อที่เป็นวิทยุ โทรทัศน์ ซีดีรอม สื่ออิเลคทรอนิกส์ ที่ทำให้ประชาชนทุกคนได้เรียนรู้ได้ตลอดชีวิต

Image


แต่แนวโน้มในการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่หรือคอมพิวเตอร์มาใช้ในการศึกษาใน ปัจจุบันและอนาคตจะเป็นรูปแบบของการเรียนการสอน โดยนำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ มาผสมผสานกับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เนื่องจากเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมีลักษณะเฉพาะ คือ มีความสามารถในการนำเสนอข้อมูลผ่านระบบ World Wide Web ในการใช้เพื่อการจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction : WBI) หรือ E-learning ซึ่งวงการศึกษาคงจะหลีกเลี่ยงได้ยากยิ่ง  แต่กระผมรู้สึกในส่วนตัวว่าอนาคตการศึกษาไทยที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์จะ ไม่มีคุณภาพโดยเฉพาะการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย เหมือนกับที่อ่านในตำรา  เนื่องด้วยปัจจุบันนักศึกษาสามารถสืบหาข้อมูลโดยไม่ต้องเปิดตำรา แค่เพียงไปค้นหาในอินเตอร์เน็ตก็เจอ  ทำให้นักศึกษาบางคนอาจจะไม่ได้อ่านเนื้อหาเหล่านั้นให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ เป็นเพียงแค่สืบค้นแล้วนำมาตัดแปะปรับแต่ง

เทคโนโลยี Tablet กับการศึกษา

กระแสความนิยมใน Tablet PC หรือเครื่องคอมพิวเตอร์แบบกระดานชนวน ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง บริษัทต่างๆ ทยอยกันเปิดตัวTablet PC ของตัวเองอย่างคึกคัก ไม่เว้นแม้แต่ค่ายมือถือชื่อดังอย่าง BlackBerryที่เพิ่งเปิดตัว BlackBerry Playbook ซึ่งเป็น Tablet PC ตัวเก่งตัวแรกของบริษัท  ไปอย่างคึกคักในสหรัฐอเมริกาและแคนนาดา ด้วยความคาดหวังว่าจะสามารถแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดจาก Apple ที่ยืนตระหง่านเป็นเจ้าบัลลังค์ Tablet PC ตระกูล iPad อยู่ขณะนี้
Image
     เหตุผลที่ Tablet PC กำลังเป็นที่นิยมในขณะนี้  นั่นเพราะประโยชน์อันหลากหลาย และรูปแบบที่ทันสมัย พกพาได้สะดวกสบาย จะใช้ต่ออินเตอร์เน็ตก็ได้ ถ่ายรูปก็ดี เป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้ เช็คข้อมูลข่าวสาร อ่านหนังสืออิเลคทรอนิคส์หรือ E-Book ก็ยังได้  อย่างไรก็ตามจากผลการสำรวจล่าสุดในต่างประเทศของ Admob กลับพบว่า ผู้คนที่ยอมควักกระเป๋าเพื่อครอบครองเจ้า Table PC นั้น กลับใช้ในการนำมาเล่นเกมส์มากที่สุด รองลงมาคือใช้ในการค้นคว้าหาข้อมูล เช็คอีเมล์ เช็คข้อมูลข่าวสาร  และใช้งานพวก Facebook , Twitter  โดยอันดับรั้งท้ายคือ ใช้อ่านหนังสืออิเลคทรอนิคส์ หรือ E-Book
แต่ประโยชน์สุดๆ ของเจ้า Tablet PC นี้คือการใช้อ่านหนังสืออิเลคทรอนิคส์ หรือ E-Book สำหรับท่านที่ยังไม่คุ้นเคยกับคำว่า E-Book  ผมขอเล่าคร่าวๆ ให้ฟังสักนิดนะครับ เจ้า E-Book นี่ก็หน้าตาเหมือนกันกับหนังสือที่พิมพ์เป็นเล่มๆ บนกระดาษนี่ล่ะครับ  แต่จะต้องอ่านผ่านหน้าหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือหน้าจอของ Tablet PC  ซึ่งมีขนาดหน้าจอใหญ่พอๆ กับหนังสือจริงๆ เลยทีเดียว อีกทั้งยังสามารถอ่านได้ในที่มืดได้อีกด้วยโดยใช้แสงสว่างจากจอเข้ามาเป็น ตัวช่วย
ปัจจุบันนี้เริ่ม มีการใช้ Tablet PC ในแวดวงการศึกษากันอย่างคึกคักเลยทีเดียว ตัวอย่างเช่นในรัฐจอร์เจีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ถึงขั้นลงทุนซื้อ Table PC แจกให้กับนักเรียนเพื่อใช้แทนหนังสือในรูปแบบเดิมๆ  ทั้งนี้เพราะTablet PC จะช่วยประหยัดงบประมาณในการจัดพิมพ์หนังสือและตำราเรียนได้อย่างมากมาย อีกทั้งยังทำให้การปรับปรุงเนื้อหาตำราเรียนสามารถทำได้อย่างทันท่วงที โดยไม่ต้องรอหนังสือเป็นเล่มๆ หมดแล้วค่อยพิมพ์ใหม่แบบเดิมๆ อีกต่อไป   เพราะหนังสือต่างๆ ที่อยู่บน Tablet PC นั้นล้วนแล้วแต่เป็นหนังสืออิเลคทรอนิคส์ที่ถูกเก็บไว้ในรูปดิจิตอล จึงสามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้ตลอดเวลา
Tablet PC หนึ่งเครื่องนั้นสามารถบรรจุหนังสือได้เป็นพันๆ เล่ม โดยผู้อ่านสามารถเลือกเล่มไหนขึ้นมาอ่านก่อนก็ได้ ความสามารถพิเศษอีกอย่างหนึ่งของTablet PC คือการเชื่อมโยงครูอาจารย์ และนักเรียนนักศึกษา เข้าด้วยกันผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ต ทำให้ข้อจำกัดเรื่องสถานที่ในการเรียนการสอนหมดไป ครูอาจารย์ และนักเรียนนักศึกษา สามารถอยู่กันคนละที่แต่เข้ามาเรียนพร้อมกันแบบเห็นหน้าเห็นตาผ่านทางกล้อง ที่ถูกติดตั้งมาบนTablet PC ได้  จึงทำให้การเรียนการสอนทางไกลเกิดขึ้นได้อย่างง่ายดาย และเข้าไปถึงกลุ่มคนทุกชั้นไม่ว่าจะอยู่ในชนบทห่างไกลแค่ไหนก็ตาม
Image
สำหรับในประเทศไทย สถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยบางแห่งเริ่มมีการแจก Tablet PC ให้กับนักศึกษาใหม่แล้ว รวมทั้งในปี พ.ศ.2555 นี้ก็ได้มีการแจก Tablet ให้กับเด็กป. 1 แล้วด้วย แต่การนำไปประยุกต์ใช้ยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจนแน่นอนเพราะยังต้องอาศัยการ พัฒนาโปรแกรมมารองรับรวมทั้งเนื้อหาตำราในรูปแบบ E-Book ที่จะต้องมีจำนวนมากกว่านี้  ในขั้นนี้ Tablet PC ในไทยจึงอาจเป็นได้แค่เครื่องมือที่ไว้จูงใจนักศึกษาหรือสร้างภาพลักษณ์ทัน สมัยให้กับมหาวิทยาลัยก่อน  แต่ในอนาคต เมื่อราคาจำหน่ายของ Tablet PC ถูกลงกว่านี้จะมีจำนวนของหนังสือตำราเรียนต่างๆ ทยอยเข้าสู่E-Book มากขึ้น รวมทั้งจะมีการพัฒนาโปรแกรมเพื่อรองรับการอ่าน E-Book แบบไทย ๆ มากขึ้น เมื่อถึงเวลานั้นTablet PC จะกลายเป็นช่องทางใหม่ ที่เปลี่ยนรูปโฉมการเรียนการสอนและการกระจายความรู้ให้เข้าถึงคนไทยได้อย่าง มากมายมหาศาลเลยทีเดียวครับ

ที่มา   http://portal.in.th และ http://www.it24hrs.com

ประโยชน์ที่ได้จากเทคโนโลยีสารสนเทศ

ประโยชน์ที่ได้จากเทคโนโลยีสารสนเทศ


             1.4 ประโยชน์ที่ได้จากเทคโนโลยีสารสนเทศ
            ชีวิตความเป้นอยู่ในปัจจุบันเกี่ยวข้องกับสารสนเทศต่าง ๆ มากมาย การอยู่รวมกันเป็นสังคมทำให้มนูษย์ต้องสื่อสารถึงกัน ต้องติดต่อและทำงานหลายสิ่งหลายอย่างร่วมกัน สมองของคนเราจะต้องจดจำสิ่งต่าง ๆ ไว้มากมาย ต้องจดจำชื่อผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย จดจำข้อมุลต่าง ๆ ไว้ประโยชนืในภายหลัง สังคมจึงการความเป็นระบบที่มีรูปแบบชัดเจน เช่น การกำหนดเลขที่บ้าน ถนน อำเภอ จังหวัด ทำให้สามารถติดต่อส่งจดหมายถึงกันได้ ที่อยู่จึงเป็นสารสนเทศอย่างหนึ่งที่ใช้งานอยู่
           เพื่อให้สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์เป็นระบบมากขึ้น จึงมีการจัดการสารสนเทศเหล่านั้นในลักษณะเชิงระบบ เช่น ระบบทะเบียนราษฎร์ มีการใช้เลขประจำตัวประชาชนซึ่งประกอบด้วยเลขรหัส 13 ตัว แต่ละตัวจะมีความหมายเพื่อใช้ในการตรวจสอบ
           การเข้ารับการตรวจรักษาในโรงพยาบาลก็ต้องมีการลงทะเบียน การสร้าง้วชทัเบียนระบบเสียภาษีก็มีการสร้างรหัสประจำตัวผู้เสียภาษี นอกจากนี้มีการจดทะเบียนรถยนต์ ทะัเบียนการค้า ทะเบียนโรงงาน ฯลฯ
      



รูปที่1.6 บนบัตรประจำตัวและบัตรเครดิตจะมีรหัสเพื่อให้สามารถอ้างถึงข้อมูลของผู้ถือ

             การใช้สารสนเทศเกี่ยวข้องกับทุกคน การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีความจำเป็น ปัจจุบันเราซื้อสินค้าด้วยบัตรเครดิต เบิกเงินด้วยบัตรเอทีเอทีเอ็ม โอนย้ายข้อมูลในลักษณะอิเล็กทรอนิกส์แถบันทึก แผ่นบันทึก แผ่นซีดีรอม ดังจะเห็นเห็นเอกสารหรือหนังสือบรรจุแผ่นซีดีรอมซึ่งอาจเก็บหนังสือทั้งตู้ ไว้ในแผ่นซีดีรอมเพียงแผ่นเดียว
            การสื่อสารข้อมูลที่เห็นเด่นชัดขณะนี้ และมีบทบาทมากอย่างหนึ่ง คือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือการส่งข้อความถึงกันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ กล่าวคือ ผู้ใช้นั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ พิมพ์ข้อความเป็นจดหมายหรือเอกสาร พิมพ์เลขที่อยู่ของไปรษณีย์อิเล็กททรอนิกส์ของผู้รับและส่งผ่านเครือข่าย คอมพิวเตอร์ ผู้รับก็สามารถเปิดคอมพิวเตอร์ของตน เพื่อค้นหาจดหมายและสามารถตอบโต้กลับไดทันที


รูปที่ 1.7 จอภาพแสดงการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส

            เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับชีวิต ประจำวันเป็นสิ่งต้องเรียนรู้ เป็นเรื่องที่รวมไปถึงการรวบรวมข้อมูล การจัดเก็บข้อมูล การจัดการข้อมูลและการประมวณผลข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บ จำเป็นต้องตรวจสอบเพื่อความถูกต้อง จัดรูปแบบเพื่อให้อยู่ในรูปแบบที่ประมวณผลได้ เช่น การเก็บนามบัตรของเพื่อนหรือบุคคลที่มีการติดต่อซึ่งมีจำนวนมาก เราอาจหากล่องพลาสติกมาใส่นามบัตร มีการจัดเรียงนามบัตรตามอักษรของชื่อ
สร้างดัชนีการเรียกค้นเพื่อให้หยิบค้นได้ง่าย    แต่เมื่อคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาท ทำให้มีการเปลี่ยนรูปแบบของการจัดเก็บในลักษณะบัตรมาเป็นการจัดเก็บข้อมูล ไว้ในแผ่นบันทึก โดยมีระบบการจัดเก็บและประมวณผลลักษณะเดียวกับที่กล่าว เมื่อต้องการเพิ่มเติมปรับปรุงข้อมูลหรือเรียกค้นก็นำแผ่นบันทึกนั้นมาใส่ใน คอมพิวเตอร์ทำการเรียกค้น แล้วแสดงผลบนจอภาพหรือพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์


รูปที่1.8 การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เก็บข้อมูล

             
                 การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอรทำได้สะดวก คอมพิวเตอรืจึงเป็นที่นิยมสำหรับการจัดการข้อมูลในยุคปุจจุบันขณะเดียวกับ ที่คอมพิวเตอร ์มีราคาที่ลดลงและมีขีดความสามารถสูงขึ้น จึงเชื่อแน่ว่าบทบาทของการจัดการข้อมูลในชีวิตประจำวันจะเพิ่มมากขึ้นต่อไป โครงสร้างและรูปแบบของข้อมูลที่ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ เป็นโครฃงสร้างที่จะต้องมีรูปแบบที่จัดเชน และแน่นอน การจัดการข้อมูลจึงต้องมีการกำหนดกฎเกณฑ์เฉพาะ เช่น การกำหนดรหัสเพื่อใช้ในการจำแนกข้อมูล รหัสจึงมีความสำคัญ เพระาคอมพิวเตอร์สามารถจำแนกข้อมูลด้วยรหัสได้ง่าย ลองนึกดูว่าหากมีข้อมูลจำนวนมากแล้วให้คอมพิวเตอร์ค้นหาโดยค้นหาตั้งแต่หน้า แรกเป็นต้นไป การดำเนินการเช่นนี้ กว่าจะค้นพบอาจไม่ทันต่อความต้องการการดำเนินการเกี่ยวข้อมูลจึงต้องมีการ กำหนดเลขรหัส เช่น เลขประจำตัวประชาชน รหัสเลขทะเบียนคนไข้ ทะเบียนรถยนต์ เลขประจำตัวนักเรียน เป็น การจัดการในลักษณะนี้จึงต้องมรการสร้างระบบเพื่อความเหมาะสมกับการทำวานของ คอมพิวเตอร์เป็นสำคัญ
            
            นอกจากเรื่องความเร็วและความแม่นยำของการประมวณผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอรืแล้ว การคัดลอกและการแจกจ่ายข้อมูลไปยังผู้ใช้ก็ทำได้สะดวก เนื่องจากข้อมูลที่เก็บในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์สามารถเปลี่ยนถ่ายระหว่าง ตัวกลางได้ง่าย เช่น การสำเนาข้อมูลระหว่างแผ่นบันทึกข้อมูลสามารถทำเสร็จได้ในเวลารวดเร็ว
            
           ด้วยความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมในยุคของสารสนเทศการปรับ ตัวของสังคมจึงเกิดขึ้น ประเทศที่เจริญแล้วประชากรส่วนใหญ่จะอยู่กับเครื่องจักรเครื่องมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ มีเครือข่ายการให้บริการใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นหลายอย่างในขณะที่เราอยู่บ้าน อาจใช้โทรศัพท์ติดต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ( internet ) เพื่อขอเรียกดูราคาสินค้า ขอดูข่าวเกี่ยวกับดินฟ้าอากาศ ข่าวความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการเมือง อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา นอกจากนี้ยังมีระบบสั่งซื้อสินค้าผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์แม่บ้านใช้ คอมพิวเตอร์ส่วนตัวที่บ้านต่อเชื่อมผ่านเครือข่ายสายโทรศัพท์ไปยังห้างสรรพ สินค้าเพื่อเปิดดูราคาและรายการสินค้า ซึ่งสามารถสั่งซื้อได้เมื่อต้องการ
            
           บทบาทของเทคโนดลยีสารสนเทศที่กำลังเปลี่ยนแปลงสังคมนี้เอง ผลักดันให้เราต้องศึกษาหาความรู้เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้ กระทรวงศึกษาธิการได้เพิ่มเติมหลักสูตรเกี่ยวกัยเทคโนดลยีสารสนเทศเข้าไปใน หลักสูตรการเรียนการสอน โดยมุ่งเน้นให้เยาวชนของชาติได้มีโอกาสได้เรียนรู้เทคโนโลยีเหล่านี้ หากไม่หาทางปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีและการเรียนยรู้ให้เข้าใจ เพื่อให้มีการพัฒนาสังคมไทยได้อย่างเหมาะสม เราจะเป็นเพียงผู้ใช้ที่ต้องเสียเงินตราให้ต่างประเทศอีกมากมาย

ที่มา  http://neung.kaengkhoi.ac.th/workm.4_m62551/m4_5/salinee/ประโยชน์.html

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
  

1 องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
                องค์ประกอบของระบบสารสนเทศซึ่งเป็น ระบบสนับสนุนการบริหารงาน การจัดการและปฏิบัติการของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคล ระดับกลุ่มหรือระดับองค์กรหไม่ใช่มีเพียงเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ยังมีองค์ประกอบอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จของระบบอีกรวมเป็น 5 องค์ประกอบ ซึ่งจะขาดองค์ประกอบใดไม่ได้ คือ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล บุคลากร และขั้นตอนการปฏิบัติงาน   


รูป 1. องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
          1.1     ฮาร์ดแวร์
                   ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสารสนเทศ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รอบข้าง เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดตรวจ รวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย
          1.2    ซอฟต์แวร์
                   ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ประการที่สอง ซึ่งก็คือลำดับขั้นตอนของชุดคำสั่งที่สั่งงานให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน เพื่อประมวลผลข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการของการใช้งาน ในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ควบคุมระบบงาน ซอฟต์แวร์สำเร็จทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับบุคคลเป็นไปอย่างกว้างขวาง และส่งเสริมการทำงานของกลุ่มมากขึ้น ส่วนงานในระดับองค์กร ส่วนใหญ่มักจะมีการพัฒนาระบบตามความต้องการ โดยการว่าจ้างบริษัทที่รับพัฒนาซอฟต์แวร์ หรือโดยนักคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในฝ่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กร เป็นต้น
           1.3    ข้อมูล
                    ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของระบบสารสนเทศ เป็นตัวชี้ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของระบบได้ เนื่องจากต้องมีการเก็บข้อมูลจากแหล่งกำเนิด ข้อมูลจะต้องมีความถูกต้องและทันสมัย มีการกลั่นกรองและตรวจสอบแล้วเท่านั้นจึงจะมีประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อใช้งานในระดับกลุ่มหรือระดับองค์กร ข้อมูลต้องมีโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบระเบียบเพื่อการสืบค้นที่รวด เร็วและมีประสิทธิภาพ
            1.4   บุคคลากร
                     บุคลากรในระดับผู้ใช้ ผู้บริหาร ผู้พัฒนาระบบ นักวิเคราะห์ระบบ และนักเขียนโปรแกรม เป็นองค์ประกอบสำคัญในความสำเร็จของระบบสารสนเทศ บุคลากรมีความรู้ ความสามารถทางคอมพิวเตอร์มากเท่าใด โอกาสที่จะใช้งานระบบสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์ได้เต็มศักยภาพและคุ้มค่า ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะระบบสารสนเทศในระดับบุคคลซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถมาก ขึ้น ทำให้ผู้ใช้มีโอกาสพัฒนาความสามารถของตนเองและพัฒนาระบบงานได้เองตามความ ต้องการ สำหรับระบบสารสนเทศในระดับกลุ่มและองค์กรที่มีความซับซ้อนมาก อาจจะต้องใช้บุคลากรในสาขาคอมพิวเตอร์โดยตรงมาพัฒนาและดูแลระบบงาน
             1.5    ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
                      ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนของผู้ใช้หรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องก็เป็น เรื่องสำคัญอีกประการหนึ่ง เมื่อได้พัฒนาระบบงานแล้วจำเป็นต้องปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอน ในขณะใช้งานก็จำเป็นต้องคำนึงถึงลำดับขั้นตอนการปฏิบัติของคนและความ สัมพันธ์กับเครื่อง ทั้งในกรณีปกติและกรณีฉุกเฉิน เช่น ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล ขั้นตอนการประมวลผล ขั้นตอนปฏิบัติเมื่อเครื่องชำรุดหรือข้อมูลเสียหาย และขั้นตอนการทำสำเนาข้อมูลสำรองเพื่อความปลอดภัย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะต้องมีการซักซ้อม มีการเตรียมการ และการทำเอกสารคู่มือการใช้งานที่ชัดเจน

ที่มา  http://www.blogger.com/blogger.g?blogID=6896762658181808058#editor/target=post;postID=1584316423324451522