วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ


                                                                             ความหมายของคำว่าข้อมูลกับสารสนเทศ
                                                     ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)
ข้อมูล (Data or Raw Data) หมายถึง ข้อเท็จจริง (Fact) ที่เกิดขึ้น ถ้าเป็นคำว่าข้อมูลในทางคอมพิวเตอร์ จะ    
 หมายถึงข้อเท็จจริงที่มีการเก็บรวบรวมไว้ และมีความหมายในตัวเอง
        สารสนเทศ (Information) หมายถึง การนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้ มาผ่านกระบวนการ (Process) เพื่อให้ได้
ความหมายของคำว่าเทคโนโลยี
         "เทคโนโลยี" มีความหมายมาจากคำ 2 คำคือ "Technique" ซึ่งหมายถึง วิธีการที่มีการพัฒนาและสามารถนำไปใช้ได้ และคำว่า "Logic" ซึ่ง หมายถึง ความมีเหตุผลที่เป็นที่ยอมรับ รวมกันแล้ว จึงหมายถึง วิธีการปฏิบัติที่มีการจัดลำดับ อย่างมีรูปแบบ และขั้นตอน เพื่อที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในเรื่องความเร็ว
  • (Speed) ความน่าเชื่อถือ     (Reliable) ความถูกต้อง
  • (Accurate) ซึ่งคุณสมบัติที่กล่าวถึงนี้มีอยู่อย่างครบถ้วนในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง
               พิวเตอร์  หมายถึง อุปกรณ์ทาง อิเล็คทรอนิคที่สามารถทำการกำหนดชุดคำสั่ง (Programmable) ในการนำข้อมูลเข้ามาทำการประมวลผลให้เกิดเป็นสารสนเทศที่เกิดประโยชน์และนำสารสนเทศเหล่านั้นเก็บและนำมาใช้ต่อไปได้ องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน คือ ส่วนนำข้อมูลเข้า (Input) ส่วนประมวลผล (Process) ส่วนแสดงผล (Output) และส่วนเก็บข้อมูล (Storage)
พัฒนาการของสารสนเทศและเทคโนโลยีสู่ยุคดิจิตอล
ยุคดิจิตอล    พัฒนาการ จากยุคอนาลอกสู่ยุคดิจิตอลนั้นมีความเป็นมาที่ยาวนานมาก กว่าที่จะมาเป็นเทคโนโลยีที่เราท่าน ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันนี้ บางช่วงใช้เวลาในการค้นคิดนานเป็นพันปีโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง บางช่วงก็เร็วมาก
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศในโลกปัจจุบัน
                ใน อนาคตอันใกล้นี้ คอมพิวเตอร์คงเข้ามาสู่ชีวิตประจำวันของเราไม่มากก็น้อย ไม่ว่าเราจะอยากรู้จักโดยตรงหรือไม่ก็ตาม เช่น เมื่อเราไปฝาก หรือ ถอนเงินจากธนาคารทุกแห่งในขณะนี้ล้วนแล้วแต่ต้องผ่านระบบคอมพิวเตอร์ทั้ง สิ้น เราก็น่าที่จะเริ่มเรียนรู้อย่างมีระบบจากง่ายและนำพาตัวเราไปสู่การเรียน รู้ที่เข้าใจเทคโนโลยีอย่างมีการค้นคิดที่มากขึ้นต่อไปในอนาคต เพื่อที่เราจะได้ก้าวไปเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกเทคโนโลยีได้ต่อไป
การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ทางด้านการศึกษา
การ นำเทคโนโลีสารสนเทศมาใช้ทางด้านการศึกษาถือได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญในระดับ ประเทศ เราจะเห็นได้ว่า รูปแบบการเรียนการสอนในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เดิมในท้องถิ่นที่ห่างไกลความเจริญ เด็ก ๆ แทบจะไม่มีโอกาสได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร จนกลายเป็นผู้ด้อยโอกาสทางสังคม การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการศึกษา ราชการ และในเชิงพาณิชย์

ปัจจัยที่ทำให้เกิดความล้มเหลวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
การ เรียนรู้สารสนเทศจากอินเตอร์เน็ตนั้นได้เปลี่ยนชีวิตผู้คนให้มีลักษณะเป็น วัตถุนิยมมากขึ้น มีการพูดคุยและสื่อสารกันโดยผ่านคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะมีผลทั้งทางลบและทางบวก ในทางบวกนั้น เราจะได้รับข้อมูลข่าวสารที่มากขึ้น แต่ก็มีผลในทางลบด้วยเช่นกัน หากข้อมูลบางอย่างนั้นเป็นภัยทั้งแก่ครอบครัวและประเทศชาติ อินเตอร์เน็ตเป็นทั้งแหล่งความรู้และแหล่งอบายมุกไป พร้อม ๆ กัน เหมือนดาบสองคม ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์จึงมักขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล หรือขึ้นอยู่กับการชักนำไปว่าจะใช้ในทางที่ถูกที่ควรหรือไม่ ซึ่งการที่เด็กของเราจะรับรู้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไรคงต้องขึ้นอยู่กับการ ดูแลอย่างใกล้ชิดของทั้งสถาบันครอบครัวและสถาบันการศึกษาในอันที่จะร่วมมือ กันอย่างจริงจัง

เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์และฮาร์ดแวร์
คอมพิวเตอร์ (Computer)หมายถึง อุปกรณ์ทางอิเล็คทรอนิต ที่สามารถกำหนดชุดคำสั่ง (Programmed) เพื่อให้เกิดการรับข้อมูลจากส่วนนำเข้า (Input Unit) แล้วนำมาทำการประมวลผล (Processing) ให้เกิดเป็นสารสนเทศในส่วนแสดงผลลัพธ์ (Output Unit) ที่เกิดประโยชน์และเราเก็บสารสนเทศเหล่านี้ไว้ในส่วนสำรองข้อมูล (Secondary Storage) ที่เราสามารถนำกลับมาใช้หรือปรับแก้ได้ตามต้องการ
องค์ประกอบพื้นฐานของคอมพิวเตอร์
องค์ประกอบพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ องค์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ เห็นได้ว่ามี องค์ประกอบเหมือนกัน คือ 1. ส่วนนำเข้า (Input)
1.       ส่วนประมวลผล (Process)
2.       ส่วนแสดงผล (Output)
3.       และส่วนเก็บข้อมูล (Storage)
ประเภทของคอมพิวเตอร์
ประเภทของคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
  • ซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputers) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีความสามารถในการทำงานมากที่สุดด้วย
  • เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe computers) เป็น คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่และมีความสามารถในการทำการประมวลผลข้อมูลที่มี จำนวนมหาศาลนับเป็นล้าน ๆ ได้ในเวลาดันรวดเร็ว เหมาะสมกับหน่วยงาน เช่นธนาคาร สายการบิน
  • คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal computers) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก และมีความสามารถในการประมวลผลข้อมูลที่ไม่มากนัก เหมาะกับการ
 คอมพิวเตอร์กับเครือข่าย
          คอมพิวเตอร์กับความต้องการเชื่อมต่อเครือข่าย (Network)
เครือข่าย หมายถึง การที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้น มีความสามารถใช้อุปกรณ์ในการติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์อื่น ๆ หรือเป็นการใช้อุปกรณ์ในระบบอื่นร่วมกันได้
คอมพิวเตอร์กับความต้องการเชื่อมต่อเครือข่าย
คอมพิวเตอร์ที่เราใช้ในบ้านหรือในสำนักงานจะต่อกับเครือข่าย โดยใช้อุปกรณ์ ที่เรียกว่า "โมเด็ม" (Modem)ซึ่ง เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ากับคู่สายโทรศัพท์และอาศัย การส่งสัญญาณโทรศัพท์เป็นสื่อในการติดไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ซึ่งทำให้เราสามารถดูข้อมูลหรือสั่งซื้อของจากอินเตอร์เน็ตที่สนใจได้หรือแม้แต่ส่ง จดหมายอิเล็คทรอนิคถึงกันและกันได้
คอมพิวเตอร์กับอินเตอร์เน็ต
คอมพิวเตอร์กับอินเตอร์เน็ต (Internet)
อินเตอร์เน็ต หมายถึง ระบบคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อถึงกันเป็นเครือข่ายได้ทั่วโลก หรือบางครั้งมีผู้กล่าวไว้ว่า เป็นระบบเครือข่ายของเครือข่าย (Network of networks) ที่ ผู้ใช้ที่มีสิทธิได้ใช้สารสนเทศจากระบบคอมพิวเตอร์อื่นๆ รวมถึงการติดต่อสื่อสารถึงกันและกัน ซึ่งเดิมเคยเป็นการสื่อสารที่ใช้อยู่ในกลุ่มของนักธุรกิจ รัฐบาล หรือ ในทางการศึกษาเท่านั้น แต่ในปัจจุบันได้รับความนิยมจากทุก
คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับเครือข่ายได้อย่างไร
คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อ (Connected) กับเครือข่าย
การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์มีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้
  • เซิฟเวอร์ สำหรับกรณีนี้เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับทำการเชื่อมต่อเครือข่ายอื่น ๆ
  • กฏเกณฑ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อ ที่เราเรียกว่า โปรโตรคอล (Protocal)
  • เทคโนโลยีเครือข่าย

    ความรู้พื้นฐานของเทคโนโลยีเครือข่าย
                       ใน ปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานในหน่วยงานประเภทต่างๆ มากมาย ซึ่งมีผลทำให้การทำงานในองค์กรหรือหน่วยงาน สามารถทำงานได้อย่างเป็นระบบ และสามารถพัฒนาการทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในองค์กร หรือหน่วยงานก็เริ่มมีการพัฒนาขึ้นแทนที่จะใช้ในลักษณะหนึ่งเครื่องต่อหนึ่ง คน ก็ให้มีการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ มาเชื่อมต่อกัน เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
    เป้าหมายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
    1. มีการใช้ทรัพยากรทางฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ร่วมกัน
    2. สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ สำหรับทุกคนที่อยู่ในระบบเครือข่าย โดยไม่ต้องสนใจว่าข้อมูลเหล่านี้จะเก็บอยู่ที่ใด 
                3. การติดต่อระหว่างผู้ใช้แต่ละคนมีความสะดวกสบายขึ้น
    การประมวลผลข้อมูลบนเครือข่าย
    สื่อที่ใช้ในการส่งข้อมูล
              ใน ระบบเครือข่ายจะต้องมีสื่อที่ใช้ในการเชื่อมต่อสถานีงานต่างๆ ในเครือข่ายเข้าด้วยกัน เพื่อส่งข้อมูล ซึ่งสื่อเหล่านี้จะมีหลายแบบให้เลือกใช้ โดยแต่ละแบบเองก็จะมีจุดเด่นจุดด้อยแตกต่างกันออกไปตามแต่ว่าจะพิจารณาโดย ยึดราคา หรือศักยภาพเป็นเกณฑ์
    มาตรฐานการสื่อสารข้อมูล
    สื่อที่ใช้ในการส่งข้อมูล (Transmission media) แบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ
    1. ประเภทมีสาย ได้แก่ สายคู่ไขว้ (Wire pair หรือ Twisied pair หรือสายโทรศัพท์), สายโคแอกเชียล
    (Coaxial Cables), เส้นใยแก้วนำแสง หรือไฟเบอร์ออฟติกส์ (Fiber optics)
    2. ประเภทไม่มีสาย ได้แก่ ไมโครเวฟ (Microwave) และดาวเทียม (Satellite Tranmission)
    3. ระบบอื่น ๆ ได้แก่ ระบบวิทยุ (Radio Transmission), ระบบอินฟาเรด (Infrared Transmission) และ ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Cellular Transmission)

    อุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่าย
    1. รีพีตเตอร์ (Repeater)
       รีพีตเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับฟิสิคัลเลเยอร์ ( Physical Layer) ใน OSI Model มีหน้าที่เชื่อมต่อสำหรับขยายสัญญาณให้กับเครือข่าย เพื่อเพิ่มระยะทางในการรับส่งข้อมูลให้กับเครือข่ายให้ไกลออกไปได้กว่าปกติ
    2. บริดจ์ (Bridge)
        บริดจ์ มักใช้ในการเชื่อมต่อวงแลน (LAN Segment) 2 วง เข้าด้วยกัน ทำให้สามารถขยายขอบเขตของ เครือข่ายออกไปเรื่อยๆ โดยที่ประสิทธิภาพรวมของระบบไม่ลดลงมากนัก โดยบริดจ์อาจเป็นได้ทั้งฮาร์ดแวร์เฉพาะ หรือ ซอฟแวร์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ บริดจ์จะมีการทำงานที่ดาต้าลิ้งค์เลเยอร์ (Data Link Layer) ทำการกรองสัญญาณและส่งผ่านแพ็กเก็ตข้อมูลไปยังส่วนต่างๆ ของระบบเครือข่าย
    3. สวิตซ์ (Switch)
       สวิตซ์ หรือที่นิยมเรียกว่า อีเธอร์เนตสวิตซ์ (Ethernet Switch) จะเป็น บริดจ์แบบหลายช่องทาง (Multiport Bridge) ที่นิยมใช้ในระบบเครือข่าย LAN แบบ Ethernet เพื่อใช้เชื่อมต่อเครือข่ายหลายๆ เครือข่าย (Segment) เข้าด้วยกัน
    4. เราท์เตอร์ (Router)
                   เราท์เตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับที่สูงกว่าบริดจ์ทำให้สามารถใช้ในการเชื่อม ต่อระหว่างเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลต่างกันได้ และสามารถทำการกรอง (Filter) เลือกเฉพาะชนิดของข้อมูลที่ระบุไว้ว่าให้ผ่านไปได้ทำให้ช่วยลดปัญหาการจราจรที่คับคั่งของข้อมูล
    5. เกทเวย์ (Gateway)
                    เก ทเวย์ เป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่ในการเชื่อมต่อและแปลงข้อมูลระหว่าง เครือข่ายที่แตกต่างกันทั้งในส่วนของโปรโตคอล และสถาปัตยกรรมเครือข่าย
    ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น
    ระบบเครือข่ายแบบเบสแบนด์ และบรอดแบนด์
    1. ระบบเครือข่ายแบบเบสแบนด์ (Baseband) เป็นการสื่อสารข้อมูลที่สายสัญญาณหรือตัวกลางในการส่ง
    ผ่านสัญญาณ สามารถส่งได้เพียงหนึ่งสัญญาณในเวลาขณะใดขณะหนึ่งเท่านั้น นั่นคืออุปกรณ์ที่ใช้งานสายสัญญาณขณะนั้นจะครอบครองช่องสัญญาณทั้งหมด
     2. ระบบเครือข่ายแบบบรอดแบนด์ (Broadband) เป็นการสื่อสารข้อมูลที่ตัวกลางในการส่งผ่านสัญญาณ
    สามารถส่งสัญญาณผ่านได้หลายๆ ช่องทางพร้อมๆ กัน โดยใช้วิธีแบ่งช่องความถี่ออกจากกัน ทำให้อุปกรณ์ต่างๆ สามารถสื่อสารกันโดยใช้ช่องความถี่ของตนเองaผ่านตัวกลางเดียว ตัวอย่างเช่น ระบบเครือข่ายเคเบิลทีวี เป็นต้น
    มาตรฐานของระบบเครือข่ายท้องถิ่น
        มาตรฐานของ LAN ถูกกำหนดโดยคณะกรรมการจาก IEEE ซึ่งมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า IEEE 802 Local and Metropolitan Area Network Standard Committee โดยจะเน้นการกำหนดคุณสมบัติในระดับของ Physical Layer และ Data Link Layer ใน OSI Reference Model มาตรฐานจำนวนมากถูกกำหนดออกมาจากกรรมการกลุ่มนี้ และได้นำมาใช้กำหนดรูปแบบโครงสร้างของระบบเครือข่ายในปัจจุบัน

    การประยุกต์ใช้งานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
         ระบบ เครือข่ายทำให้เกิดการสื่อสาร และการแบ่งปันการใช้ทรัพยากรระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะ หมายความรวมถึงการสื่อสาร และการแบ่งปันการใช้ข้อมูลระหว่างบุคคลด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้คืองานของระบบเครือข่าย นั่นเอง
    รูปแบบการใช้งานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
    ระบบเครือข่ายแบ่งตามลักษณะการทำงาน ได้เป็น 3 ประเภทคือ
    1. ระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลาง (Centrallized
    Networks)2. ระบบเครือข่ายแบบ Peer-to Peer
    3. ระบบเครือข่ายแบบ Client/Server
     
    เทคโนโลยีซอฟต์แวร์
    4.1.1 ซอฟต์แวร์คืออะไร
        ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่คอยสั่งการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน รวมไปถึงการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์แวดล้อมต่างๆ เช่น Modem, CD ROM, Drive เป็นต้น ซอฟต์แวร์ เป็นสิ่งที่มองไม่เห็นจับต้องไม่ได้ แต่รับรู้การทำงานของมันได้ ซึ่งต่างกับ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ที่สามารถจับต้องได้
    ประเภทของซอฟต์แวร์
    5 ประเภท คือ
    ·         ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
    ·         ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
    ·         ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Packages Software)
    ·         ซอฟต์แวร์สั่งระบบงาน (Utility Software)
    ·         ซอฟต์แวร์สื่อสาร (Communication Software)
    วิธีการจัดหาซอฟต์แวร์
         วัตถุ ประสงค์ของการจัดหาซอฟต์แวร์มาใช้ก็เพื่อนำซอฟต์แวร์มาใช้ในงาน ซึ่งมีได้หลายแนวทาง เช่น พัฒนาเอง ทั้งหมด พัฒนาเองบางส่วน ออกแบบและให้บริษัทรับไปพัฒนา ซื้อซอฟต์แวร์สำเร็จรูปมาใช้บางส่วนหรือทั้งหมด
    ซอฟต์แวร์ระบบ
              ซอฟต์แวร์ ระบบ หมายถึง ชุดคำสั่งที่เขียนไว้เป็นคำสั่งสำเร็จรูปโดยผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ และมีมา พร้อมแล้วจากโรงงานผลิต การทำงานหรือการประมวลผลของซอฟต์แวร์เหล่านี้ขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ ละเครื่อง
    ระบบปฏิบัติการ
               ระบบปฏิบัติการ (Operating System เขียนย่อว่า OS) บางทีเรียกว่า Supervisory Programs หรือ Monitors Programs นับว่าเป็นซอฟต์แวร์ที่มีความสลับซับซ้อนมาก และเป็นซอฟต์แวร์ที่สำคัญที่สุด ระบบคอมพิวเตอร์หนึ่งๆ จะมีระบบปฏิบัติการของมันเอง
    ภาษาคอมพิวเตอร์
                  ภาษาเครื่อง (Machine Language) คือภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ โดยมีโครงสร้าง พื้นฐาน เป็นเลขฐานสอง 01000111 10011110 ดัง นั้นการสื่อสารระหว่างมนุษย์และเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรงจึงเป็นไปได้ด้วย ความยากลำบาก มนุษย์จึงพยายามสร้างเครื่องมือที่จะมาช่วยในการแปลภาษาที่มนุษย์เข้าใจให้ คอมพิวเตอร์เข้าใจด้วย เครื่องมือดังกล่าวเรียกว่าล่ามแปลภาษา (Compiler) คำสั่งที่มนุษย์สร้างขึ้นหรือเขียนขึ้นมา จะเรียกว่า (Source Code) เมื่อนำ Source Code มาผ่านกระบวนการแปลภาษาของล่ามแปลภาษา ก็จะได้เป็น Object Code และผ่านขั้นตอนอีกเล็กน้อยก็จะได้เป็นภาษาเครื่อง

    ตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์
    เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่มนุษย์ต้องการ ซึ่งการทำงานของล่ามแปลภาษา อาจจำแนกได้สอง
         คอมไพเลอร์ (Compiler)      อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter)
                ตัวอินเตอร์พรีเตอร์ ทำหน้าที่แปลภาษาทีละประโยค เช่น มีคำสั่งดังนี้
    Debug.Print Sin (45)          Debug.Print Log (1)
    ซอฟต์แวร์ประยุกต์
        ซอฟต์แวร์ ประยุกต์ คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างที่เราต้องการ อาจแบ่งได้เป็นซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป และซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน ซึ่งโดยปรกติแล้วซอฟต์แวร์ดังกล่าวมักทำงานอยู่ภายใต้ระบบปฏิบัติการหนึ่ง เช่น โปรแกรมการทำบัญชีจ่ายเงินเดือน (Payroll Program) ของแต่ละบริษัท, การคำนวณดอกเบี้ยเงินฝากหรือเงินกู้สำหรับงานธนาคาร (Interest Computation) การทำสินค้าคงคลัง (Stock) ซึ่งมักมีเงื่อนไขหรือแบบฟอร์มแตกต่างกันไปตามความต้องการ
    ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน
              ซอฟต์แวร์ สำหรับงานเฉพาะด้านเป็นซอฟต์แวร์ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง และไม่สามารถ ทำงานอื่นได้ เช่น โปรแกรมระบบบัญชี โปรแกรมเพื่องานออกแบบ โปรแกรมช่วยงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
                 โปรแกรมระบบบัญชี (Accounting) เช่น ระบบบัญชีเงินเดือน ลูกหนี้ ระบบเช่าซื้อ บัญชีแยกประเภท
  • โปรแกรมช่วยงานอุตสาหกรรม CAM (Computer-Aided Manufactory and Composition And Make-up) ซอฟต์แวร์ชนิดนี้ใช้สำหรับงานด้านอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่
  • โปรแกรมช่วยในการเรียนการสอน CAI (Computer-Assisted Instruction) โดย การใช้คอมพิวเตอร์ หรือจำลองตัวเองเป็นสื่อในการเรียนการสอนประกอบกับรูปภาพ (เคลื่อนไหว) ในลักษณะต่างๆ ซึ่งทำให้ง่ายต่อความเข้าใจ
  • เกมส์ (Game) สำหรับ ผ่อนคลายหลังจากการใช้เครื่อง แต่ส่วนใหญ่นิยมเล่นเพื่อความเพลิดเพลินมากกว่า ตัวอย่างของเกมส์เหล่านี้ได้แก่ โปรแกรมเกมส์ต่างๆ ตามห้างสรรพสินค้า (Arcade game) เกมส์บนกระดาน (Board game) เช่น หมากรุก โมโนโปลีฯลฯ เกมส์ไพ่ (Card) เกมส์เสมือนหรือจำลอง                                                                                                                                                                                                                                                                               ที่มา   http://panny11.blogspot.com/2010/10/4.html